คนไทยในสมัยโบราณยังไม่รู้จักคำว่า
ขนม ซึ่งเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นของกินหลังอาหาร
หรือกินเล่น มีรสชาติหวานมัน อร่อยถูกปาก เพราะปรุงจากแป้ง ไข่ กะทิ และน้ำตาล
เชื่อกันว่าผู้ประดิษฐ์คิดขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้มีชื่อว่า "ท้าวทองกีบม้า" ซึ่งเพี้ยนมาจาก ดอญ่า
มาร กีมาร์
ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า มารี กีมาร์ เด ปีนา ส่วนคำว่า "ดอญ่า" เป็นภาษาสเปน เทียบกับภาษาไทยได้ว่า "คุณหญิง"
ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า มารี กีมาร์ เด ปีนา ส่วนคำว่า "ดอญ่า" เป็นภาษาสเปน เทียบกับภาษาไทยได้ว่า "คุณหญิง"
เธอได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ
ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด
การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวังทำให้ท้าวทองกีบม้าต้องประดิษฐ์คิดค้นขนมประเภทต่างๆ
ขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา จากตำรับเดิมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะโปรตุเกส ซึ่งเป็นชาติกำเนิดของเธอ
ท้าวทองกีบม้าได้พัฒนาโดยนำเอาวัสดุดิบพื้นถิ่นที่มีในประเทศสยามเข้ามาผสมผสาน
จนทำให้เกิดขนมที่มีรสชาติอร่อยถูกปากขึ้นมามากมาย
เมื่อจัดส่งเข้าไปในพระราชวังก็ได้รับความชื่นชมมาก
ถึงขนาดถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น มีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวงเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้เสวย
มีพนักงานอยู่ใต้บังคับบัญชาถึง ๒,๐๐๐ คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยกย่องชื่นชม
มีเงินคืนท้องพระคลังปีละมากๆ ด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีเมตตา ทำให้ท้าวทองกีบม้าถ่ายทอดตำรับการปรุงขนมหวานแบบต่างๆ
ให้แก่สตรีที่ทำงานใต้บังคับบัญชาของเธอจนเกิดความชำนาญ
และสตรีเหล่านี้เมื่อกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องยังบ้านเกิดของตนก็ได้นำตำรับขนมหวานไปเผยแพร่ต่ออีกทอดหนึ่ง
จึงทำให้ตำรับขนมหวานที่เคยอยู่ในพระราชวังแผ่ขยายออกสู่ชนบทมากขึ้นเรื่อยๆ
ในที่สุดก็กลายเป็นขนมพื้นบ้านของไทย
ชีวิตบั้นปลายของท้าวทองกีบม้าจัดว่ามีความสุขสบายตามสมควร
แม้ว่าท้าวทองกีบม้าจะมีกำเนิดเป็นคนต่างชาติ แต่เธอก็เกิด
เติบโตและมีชีวิตอยู่ในประเทศสยามจวบสิ้นอายุขัย แถมยังสร้างสิ่งประดิษฐ์อันล้ำค่าทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่
และวัฒนธรรมประเพณีของไทยเอาไว้อย่างมากมายมหาศาล สมกับคำยกย่องกล่าวขานของคนรุ่นหลังที่มอบแด่เธอว่า "ราชินีขนมไทย"